จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
มาร์กุส เอาเรลิอุส
จักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิโรมัน
Marcus Aurelius Glyptothek Munich.jpg

รูปแกะครึ่งตัวของมาร์กุส เอาเรลิอุส
พระนามเต็ม มาร์กุส เอาเรลิอุส อันโตนินุส เอากุสตุส (ซีซาร์)
ราชวงศ์ เนอร์วัน-อันโตเนียน
ครองราชย์
สมัย 8 มีนาคม ค.ศ. 161 - ค.ศ. 169
ร่วมกับ จักรพรรดิลูกิอุส เวรุส
สมัยที่ 2 ค.ศ. 169 - ค.ศ. 177
ร่วมกับ ด้วยตนเอง
สมัยที่ 3 ค.ศ. 177 - 17 มีนาคม ค.ศ. 180
ร่วมกับ คอมโมดัส
รัชกาลก่อนหน้า จักรพรรดิอันโตนินัส ไพอัส
รัชกาลถัดไป ก็อมมอดุส
บทบาท/งาน “Meditations”
ข้อมูลส่วนพระองค์
เกิด ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121, กรุงโรม[1]
เสียชีวิต 17 มีนาคม ค.ศ. 180, วินโดโบนา หรือ ซีร์มิอุม
บิดา มาร์กุส อันนิอุส เวรุส
มารดา โดมิเชีย ลูกิลลา
บุตร/ธิดา 13 คนรวมทั้ง คอมโมดัส
หมวดหมู่: จักรพรรดิโรมัน
จักรพรรดิโรมันตะวันตก - จักรพรรดิไบแซนไทน์

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (ละติน: Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus; ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121[2] – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง

เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี ค.ศ. 170 ถึง ค.ศ. 180 ที่ยังถือกันว่าเป็นงานชิ้นสำคัญทางวรรณกรรมสำหรับการปกครองของหน้าที่และหน้าที่ที่ได้รับการสรรเสริญในเนื้อหาที่ “exquisite accent and its infinite tenderness”[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Marcus Aurelius". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  2. Augustan History, "Marcus Aurelius"
  3. John Stuart Mill in his Utility of Religion, compared Meditations to the Sermon on the Mount

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]